วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

               บทที่3 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล


3.1 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

          คอมพิวเตอร์ (computer) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์และไอซี (Integrated Circuit : IC) ต่างๆ มากมาย ซึ่งสามารถจดจำ ประมวลผลข้อมูล เปรียบเทียบ ตัดสินใจทางตรรกศาสตร์ คำนวณทางคณิตศาสตร์ สามารถใช้ช่วยในการออกแบบและสร้างงานกราฟิกได้ อีกทั้ง ยังตอบสนองความต้องการด้านอื่น ได้อย่างหลากหลาย 

คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 5 หน่วย ได้แก่
หน่วยรับเข้า (input unit)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
หน่วยความจำ (memory unit)
หน่วยส่งออก (out unit)
หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) แต่ละหน่วยทำหน้าที่ประสานกัน



3.2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

3.2.1 ซีพียู และการประมวลผล
ซีพียู มีลักษณะเป็นชิป ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไว้มากมาย โดยวงจรประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนมาก ปัจจุบันซีพียูถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง โดยรวมวงจรต่างไว้ในชิปเพียงตัวเดียวเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ภายในไมโครโพรเซสเซอร์ประกอบด้วย หน่วยควบคุม และหน่วยคำนวณและตรรกะ เรียกสั้นๆ ว่า เอแอลยู

 
3.2.2 หน่วยความจำ และการจัดเก็บข้อมูล
หน่วยความจำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ดที่ทำงานร่วมกับซีพียูโดยตรง หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. หน่วยความจำแบบไม่สามารถลบเลือนได้ เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้ แม้ว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ตัวอย่างของหน่วยความจำชนิดนี้เช่น รอม และหน่วยความจำแบบแฟลช
– รอม เป็นหน่วนความจำแบบอ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้


– หน่วยความจำแบบแฟลช เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้ ในเค
รื่องคอมพิวเตอร์มีการใช้รอมในการเก็บไบออส ไบออสทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรมพื้นฐานที่สำคัญในการเริ่มต้นกระบวนการบูตของเครื่องคอมพิวเตอร์
2. หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ เป็นหน่วยความจำที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเพื่อเก็บข้อมูล หากเกิดไฟดับ ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจะสูญหายไป หน่วยความจำชนิดนี้ เช่น แรม
 แรม สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. สแตติกแรม หรือแรมเอส มักพบในตัวซีพียูทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำภายในซีพียูที่เรียกว่าหน่วยความจำแคช ซึ่งจะมีความเร็วสูงกว่าไดนามิกแรม ตัวอย่าง เอสแรม
2. ไดนามิกแรม หรือดีแรม เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ราคาไม่แพง  ความจุสูง

3.2.3 ระบบบัสกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ
ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีเมนบอร์ดที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่วยความจำ และฮาร์ดดิสก์ โดยการส่งข้อมูลและคำสั่งระหว่างอุปกรณ์ จะอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกส่งผ่านระบบส่งถ่ายข้อมูลที่เรียกว่า บัส

3.3 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน

– งานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการด้านเอกสาร รายงาน ตกแต่งภาพ ทำการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ 1 GHz ขึ้นไปแต่ควรมีแรมอย่างน้อย 1 GB และอาจเลือกจอภาพแบบแอลซีดีขนาด 17-19 นิ้ว
– งานกราฟฟิก เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการตกแต่งและออกแบบภาพ เช่น งานสิ่งพิมพ์ สร้างเว็บไซต์ ฯลฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้จำเป็นต้องมีซีพียูที่มีความเร็วอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ประมาณ 2 GHz ขึ้นไป ใช้แรมอย่างน้อย 2 GB ขึ้นไป และมีฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
– งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบภาพ 3 มิติ สร้างภาพยนตร์ แอนิเมชั่น ฯลฯ งานประเภทนี้ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณ และแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 2 GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ดี ควรใช้จอภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟฟ้า

3.4 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์

เมนบอร์ด (mainboard) หรืออาจเรียกว่า มาเธอร์บอร์ด หรือไมโบ(motherboard: mobo) เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะประไปด้วยช่องติดตั้งซีพียู ไบออส ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำสายสัญญาณและบัสต่างๆขั้วต่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมภายใน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ และพอร์ตต่ออุปกรณ์รอบข้าง เช่น เมาส์ และ คีบอร์ดส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ดแสดง
โดยทั่วไปการระบุคุณลักษณะของเมนบอร์ดในชุดคอมพิวเตอร์สำเร็จ อาจระบุเฉาพะชนิดหรือจำนวนของพอร์ตและสล็อต PCI
ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเมนบอร์ดเท่านั้น

 แรม ในการเลือกซื้อแรมเพื่อนำมาใช้งานกับพีซี มักจะเป็นแรมชนิดดีดีอาร์เอสดีแรม(Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM : DDR SDRAM) ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของแรมให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด และสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปควรให้ความสำคัญในลำดับต่อมาคือ ขนาดความจุ และความเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย
1.)           ประเภทของแรม ต้องพิจารณาเลือกซื้อให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด แรมที่ใช้พีซี เช่น DDR, DDR2และ DDR3 โดยแรมแต่ละชนิดจะมีตำแหน่งรอยบากที่แตกต่างกันดังรูปที่ 3.16 เพื่อให้สามารถเสียบแรมบนสล็อตได้ถูกต้อง
2.)           ความจุ ปัจจุบันแรมมีให้เลือกตั้งแต่ความจุ 256 MB ขึ้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านกราฟิกหรือ มัลติมิเดียระดับสูง จะใช้แรมที่มีความจุสูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับเครื่ององคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมักจะติดตั้งแรมความจุ 1 GB ขึ้นไป
ความเร็วของแรม ความเร็วของแรม หมายถึง จำนวนครั้งที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้ภายในหนึ่งวินาที โดยมีหน่วยวัดเป็น เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เช่นDDR3 มีความเร็ว 1,333 MHz เป็นต้น ผู้ใช้งานต้องเลือกความเร็วของแรมให้สอดคล้องกับความเร็วของเมนบอร์ดด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าระบบบัสบนเมนบอร์ด(FSB) ทำงานด้วยความเร็ว 1,066 MHz แต่นำแรมที่มีความเร็ว 1,333 MHz มาใช้งานจะไม่สามารถทำงานที่ความเร็ว 1,333 MHz ได้  ตัวอย่างของระบบบัสบนเมนบอร์ดกับแรมเปรียบได้กับการที่รถวิ่งบนถนนเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย

3.5 การรับประกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะมีการรับประกันอายุการใช้งาน อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีระยะเวลารับประกันต่างกัน เช่น แรม รับประกันตลอดอายุการใช้งาน
(life time) และฮาร์ดดิสก์อาจรับประกัน 1-5 ปี โดยอายุของการรับประกันที่นานขึ้น อาจมีผลทำให้ราคาสูงขึ้น บนอุปกรณ์บางชนิดจะมีสติ๊กเกอร์รับประกันติดอยู่บนตัวอุปกรณ์ซึ่งหากมีการฉีกขาด การรับประกันจะสิ้นสุดลงทันที ดังนั้น จึงควรระมัดระวังเมื่อเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ

3.6 ข้อแนะนำการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

          1. ไม่ควรเปิดฝาคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น เนื่องจากอาจมีโลหะที่นำไฟฟ้าเข้าไปในเครื่องทำให้เกิดการลัดวงจร หรือมีฝุ่นเข้าไปในตัวเครื่อง ฝุ่นนี้จะเป็นตัวเก็บความชื้นทำให้วงจรคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้
          2. ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากจะส่งผลให้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น
          3. ไม่ควรตั้งคอมพิวเตอร์ใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง เนื่องจากอาจโดนแสดงแดดหรือฝนสาดเข้ามาได้
          4. ไม่ควรวางจอคอมพิวเตอร์ใกล้กับสนามแม่เหล็ก หรือลำโพงตัวใหญ่ๆ เนื่องจากสนามแม่เหล็กจะทำให้การแสดงภาพผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
          5. ถ้าหากที่บ้านไฟตกหรือมีไฟกระชาก ควรมีเครื่องสำรองไฟยูพีเอส (Uninterruptible power supply : UPS)
          6. ควรตั้งโหมดประหยัดพลังงานให้กับเครื่อง เพื่อถนอมอายุการใช้งานเครื่อง การทำงานในโหมดนี้จะทำให้ฮาร์ดดิสก์และซีพียูทำงานน้อยลงเมื่อไม่มีการใช้เครื่องในระยะเวลาที่กำหนด
          7. ไม่ควรวางของเหลวใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
          8. ไม่ควรปิดเครื่องโดยการกดสวิตซ์ปิด ควรใช้คำสั่งปิดระบบปฏิบัติการ เนื่องจากระบบปฏิบัติการต้องดำเนินการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานต่างๆ ของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ก่อนจะหยุดการทำงาน





3.7 การแก้ปัญหาเบื้องต้นของพีซี
 
          1. เครื่องหยุดทำงานขณะใช้งานอยู่ 
          สาเหตุ แหล่งจ่ายไฟจ่ายกำลังไฟฟ้าไม่พอ อาจเกิดจากมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก
          การแก้ไข นำอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นที่ต่อพ่วงอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ออกไป หรือเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟที่มีกำลังไฟฟ้ามากขึ้น
          2. เปิดเครื่องแล้วปรากฏข้อความว่า “DISK BOOT fAILURE, INSERT DISK SYSTEM PRESS ENTER”
          สาเหตุ เครื่องบูตไม่พบฮาร์ดดิสก์ หรือระบบปฏิบัติการบนฮาร์ดดิสก์เสียหาย
          การแก้ไข ตรวจสอบโปรแกรมไบออสว่า บูตฮาร์ดดิสก์ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ หรือติดตั้งระบบปฏิบัติการบนฮาร์ดดิสก์
          3. อ่านหรือเขียนแผ่นซีดี / ดีวีดีไม่ได้
          สาเหตุ หัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟสกปรก
          การแก้ไข ให้ใช้แผ่นซีดีทำความสะอาดหัวอ่าน โดยใส่แผ่นซีดีสำหรับทำความสะอาดเข้าไปในไดร์ฟ แปรงขนาดเล็กที่อยู่ใต้แผ่นซีดีจะปัดทำความสะอาดหัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟ
          4. เครื่องรีสตาร์ต (restart) เองขณะใช้งาน
          สาเหตุ ซีพียูมีความร้อนสูง
          การแก้ไข ตรวจสอบพัดลมของซีพียูว่าทำงานหรือไม่ สายที่ต่ออยู่แน่หรือไม่


                   ที่มา https://anttawiporn.wordpress.com/category/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น